ระบบสื่อสารข้อมูลสาหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
มีองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญ ดังนี้
1. ข่าวสาร (Message) ในทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร
ข่าวสารเป็นข้อมูลที่ผู้ส่งทาการส่งไปยังผู้รับผ่านระบบการสื่อสาร
ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบ ดังต่อไปนี้
– ข้อมูล (Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ
ที่ถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลต้องมีรูปแบบที่แน่นอน
นับจานวนได้ และสามารถส่งผ่านระบบสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว
– ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ
ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนและ
ไม่ชัดเจน
นับจานวนได้ค่อนข้างยาก และสามารถส่งผ่านระบบสื่อสารด้วยความเร็วในระดับปานกลาง
– รูปภาพ (Image) อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น
ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น ข้อมูลชนิดนี้จะต้องใช้หน่วยความจามาก
และต้องอาศัยสื่อสาหรับเก็บข้อมูล
– เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี
หรือเสียงอื่น ๆ
ข้อมูลชนิดนี้ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้และสามารถส่งผ่านระบบสื่อสารด้วยความเร็วค่อนข้างต่ำ
2. แหล่งกำเนิดข่าวสาร
(Source) หรือเรียกว่า “ผู้ส่งข้อมูล
(sender)” เป็นอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ที่ทาหน้าที่จัดส่งข้อมูลที่อยู่ต้นทาง
โดยข้อมูลต้องถูกจัดเตรียมนาเข้าสู่อุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์
โมเด็ม (modem) จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม
3. สื่อกลางหรือตัวกลาง
(Media) เป็นอุปกรณ์ที่ทาหน้าที่นาข่าวสารรูปแบบต่าง
ๆ จากผู้ส่งไปยังผู้รับ ได้แก่ สายไฟ ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก เป็นต้น
สื่อกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ
คลื่นดาวเทียม คลื่นวิทยุ เป็นต้น
ซึ่งสามารถเชื่อมต่อแหล่งกำเนิดข่าวสารและแหล่งรับข่าวสารเข้าด้วยกันหรือเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล
4. แหล่งรับข่าวสาร
(Receiver) หรือเรียกว่า ผู้รับข้อมูล
ทาหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดมาจากผู้ส่งข้อมูลผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่างกัน
การสื่อสารจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อข่าวสารที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้น
เป็นข่าวสารเดียวกันกับข่าวสารที่ผู้ส่งข้อมูลได้ถ่ายทอดผ่านสื่อมายังผู้รับข้อมูล
5. โปรโตคอล
(Protocol) คือ
วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง
โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว
ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทาให้การดาเนินงาน
ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP
เป็นต้น
ระบบสื่อสารทุกชนิดจะต้องมีองค์ประกอบครบทั้งสี่ส่วนนี้
หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งแล้ว การสื่อสารจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เช่น
การโทรศัพท์ไปหาเพื่อน
แต่ไม่มีผู้รับสารหรือเป็นเสียงตอบรับจากเครื่องตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ
ก็จะไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้น เป็นต้น ในกรณีนี้ สิ่งที่ขาดหายไปคือ ผู้รับข้อมูล
ถ้าเพื่อนตอบรับโทรศัพท์ ก็แสดงว่า การสื่อสารได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง
การส่งข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆ จากอุปกรณ์สำหรับส่งหรือผู้ส่ง
ผ่านทางตัวกลางหรือสื่อกลางไปยังอุปกรณ์รับหรือผู้รับข้อมูลหรือข่าว
ซึ่งข้อมูลหรือข่าวสารที่ส่งไปอาจจะอยู่ในรูปของสัญญาณเสียง
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแสงก็ได้ โดยที่สื่อกลางหรือตัวกลางของสัญญาณนั้นแบ่งเป็น 2 ชนิด คือชนิดที่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ เช่น
สายเกลียวคู่ (Twisted paire) สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล (Coaxial) สายใยแก้วนำแสง (Fiber
Optic) ส่วนตัวกลางอีกชนิดหนึ่งนั้นไม่สามารถกำหนดเส้นทางของสัญญาณได้
เช่น สุญญากาศ น้ำ และ ชั้นบรรยากาศ เป็นต้น
สามารถจัดรูปแบบได้เป็น 4 รูปแบบดังนี้
1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-Way หรือ Simplex
)ใน
การส่งสัญญาณข้อมูลแบบ simplex ข้อมูลจะถูกส่งไปในทางเดียวเท่านั้น
และตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น การกระจายเสียงของ สถานี วิทยุ หรือ
การแพร่ภาพทางโทรทัศน์ เป็นต้น
2. แบบกลึ่งทางกึ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์
(Either-Way of Two Waysหรือ Half
Duplex)การ สื่อสารแบบ Half Duplex เราสามารถส่งข้อมูลสวนทางกันได้แต่ต้องสลับกันส่ง
จะทำใน เวลาเดียว กันไม่ได้ ตัวอย่างเช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจแบบ Walkly-Talkly ซึ่งต้องอาศัยการ สลับสวิตซ์ เพื่อแสดง
การเป็นผู้ส่งสัญญาณคือต้องผลัดกันพูด บางครั้งเราเรียกการสื่อสารแบบ Haft Duplex ว่า แบบสายคู่ ( Two-Wire
Line)
3. แบบทางคู่ (Full-Duplex) ใน แบบนี้เราสามารถส่งข้อมูล ได้พร้อมๆ
กันทั้งสองทาง ตัวอย่างเช่น การพูดคุยโทรศัพท์ โดยสามารถ
สื่อสารพร้อมกันได้ทั้งสองฝ่าย บางครั้ง เรียกการสื่อสาร แบบทางคูว่า Four-Wire Line
รูปแบบ Full-Duplex
4.
แบบสะท้อนสัญญาณหรือ
เอ๊กโคเพล๊กซ์ (Echo-Plex) เป็นการส่งสัญญาณที่รวมทั้งHalf-Duplex และ Full-Duplex ไว้รวมกัน เช่น
ความสัมพันธ์ระหว่างคีย์บอร์ และจอภาพของเครืองTerminal ของ Main
Frame หรือ Host คอมพิวเตอร์
ในระหว่างการคีย์ข้อความผ่านคีย์บอร์ดเพื่อให้Host คอมพิวเตอร์รับข้อความหรือทำตามคำสั่งข้อความ
หรือคำสั่ง จะปรากฏบนจอภาพคอมพิวเตอร์ของเครื่องTerminal ด้วยเช่นกัน
เนื่องจากขณะที่สัญญาณตัวอักขระที่ถูกส่งจากคีย์บอร์ดไปยัง Host ซึ่ง เป็นแบบ Full-Duplex จะสะท้อนกลับมาปรากฏที่จอภาพเครือง Terminal ด้วย
การส่งข้อมูลแบบอนาลอก
(Analog Transmission)
เป็นการส่งสัญญาณแบบอนาล๊อกโดยไม่สนใจในสิ่งที่บรรจุรวมอยู่ในสัญญาณเลย
สัญญาณจะแทนข้อมูลอนาล๊อก ( เช่น สัญญาณเสียง ) หรือ ข้อมูลดิจิตอล (เช่น ข้อมูลไบนารีผ่านโมเด็ม)
สัญญาณอนาล๊อกที่ทำการส่งออกไป พลังงานจะอ่อนลง ไปเรื่อยๆ เมื่อระยะทาง
ทางเพิ่มขึ้น ดั้งนั้น ในการส่งสัญญาณอนาล๊อกไประยะไกลๆ
จึงต้องอาศัยเครื่องขยายสัญญาณ หรือ แอมปลิไฟเออร์ ( Amplifier) เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับ พลังงาน ให้กับสัญญาณ
แต่ในการใช้เครื่องขยายสัญญาณจะมีการ สร้างสัญญาณรบกวนขึ้น (Noise) รวมกับสัญญาณข้อมูลด้วย ยิ่งระยะทาง ไกล
มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีสัญญาณรบกวนมากขึ้นเท่านั้น
การส่งสัญญาณอนาล๊อกจึงต้องการวงจรกรองสัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณ รบกวนออกอีก
ดั้งหัวข้อต่อไปนี้
ส่วนในการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะสนใจทุกสิ่งทุกอย่างมาบรรจุในสัญญาณ
เพื่อระยะทางเพิ่มขึ้นมากขึ้น จะทำให้สัญญาณดิจิตอลจางหาย ไปได้
จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ทบทวนสัญญาณหรือ รีพีตเตอร์ (Repeater) เพื่อกู้ (Recover) รูปแบบของสัญญาณที่มีลักษณะ เป็น " 1 " และ " 0
" เสียก่อน
แล้วจึงส่งสัญญาณใหม่ต่อไปเราสามารถนำเอาอุปกรณ์ทบทวนสัญญาณมาใช้กับกับการส่งสัญญาณมาใช้กับการส่งสัญญาณอนาล๊อกที่มีข้อมูลเป็นแบบดิจิตอลได้เครื่องทบทวนสัญญาณจะกู้ข้อมูลดิจิตอลจากสัญญาณอนาล๊อกและสร้างสัญญาณขึ้นมาใหม่แล้วลบสัยญาณอนาล๊อกที่ส่งมาด้วยออกไปดั้งนั้นจะไม่มีสัญญาณรบกวนที่ติดมากับสัญญาณอนาล๊อกหลงเหลืออยู่เลยคำถามคือว่าเราจะเลือกใช้วิธีการส่งสัญญาณข้อมูลเป็นแบบอนาล๊อกหรือแบบดิจิตอลดีคำตอบก็ขึ้นอยู่กับระยะทางในการส่งข้อมูลนั้นใกล้หรือไกลถ้าเป็นระยะทางใกล้ๆ
สามารนถเดินสายสื่อสารดิจิตอลได้ก็ควรจะเลือกใช้การส่งสัญญาณแบบดิจิตอลส่วนการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะ
ทางไกลๆ การสื่อสารของไทยเรายังคงเป็นระบบอนาล๊อกอยู่ เช่น ระบบโทรศัพท์
หรือระบบโทรเลข ดั้งนั้นจึงควรเลือกใช้วิธีการส่งสัญญาณข้อมูล เป็นแบบอนาล๊อก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น